Sunday, 7 July 2013

อ้างอิง

อ้างอิง

http://kid085.blogspot.com/2011/11/4.html
http://th.wikipedia.org

ภาคกลาง

ภาคกลาง







รำโทน เป็นการรำ และการร้องของชาวบ้าน โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ เป็นการร้อง และการรำไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนหรือท่ารำที่กำหนดแน่นอน



รำกลองยาว เป็นการแสดงเพื่อความรื่นเริง ในขบวนแห่ต่างๆ ของไทยมีผู้แสดงทั้งชาย และหญิง ออกมรำเป็นคู่ๆ โดย มีผู้ตีกลองประกอบจังหวะ พร้อม ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง




ระบำชาวนา เป็นวิถีชีวิตความเป็นมาที่พากันออกมาไถนาหว่าน และเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวเจริญงอกงาม หลังจากนั้นพากันร้องรำเพลงด้วยความสนุกสนาน




รำเหย่อย หรือรำพาดผ้า เป็นการละเล่นที่แสดงวิธีชีวิตอันสนุกของชาวบ้านหมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการร้องรำ เกี้ยวพาราสีระหว่างชาย-หญิง เริ่มการแสดงด้วยการประโคมกลองยาว จบแล้วผู้แสดงชาย-หญิง ออกรำทีละคู่

ภาคอีสาน

ภาคอีสาน



เซิ้งสวิง เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรี ที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ
การแต่งกาย
ชาย สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้องหญิง นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ มือถือสวิง








เซิ้งโปงลาง  โปงลางเดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่าโปงเพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้บรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่างเพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทางส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม

.


เซิ้งตังหวาย  เซิ้งตังหวาย เป็นการรำเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีขอขมาของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังนิยมแสดงในงานนักขัตฤษ์และต้อนรับแขกผู้มีเกียรติของภาคอีสาน ครูนาฏศิลป์พื้นเมือง วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด กรมศิลปากร ได้ประยุกต์และจัดกระบวนรำขึ้นใหม่ รวม 12 ท่า จากท่ารำแม่บทอีสาน 
โดยผู้แสดงแต่งกายห่มผ้าคาดอก นุ่งซิ่นฝ้ายมัดหมี่มีเชิง เกล้าผมสูง
เครื่องดนตรีพื้นเมืองที่ใช้บรรเลงประกอบ คือ โปงลาง แคน พิณ ซอ กั๊บแก๊บ ฉิ่ง และฉาบ

ภาคเหนือ

ภาคเหนือ



ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก  ประมาณปี พ.ศ. 2500 คุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ ได้คิดท่ารำขึ้นมาโดยอยู่ภายใต้การแนะนำของบิดา ท่ารำนี้ได้เน้นถึงการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องและนุ่มนวล ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เส้นไหมพันกัน   ในปี พ.ศ. 2507 คุณพลอยศรี สรรพศรี ช่างฟ้อนเก่าในวังของเจ้าเชียงใหม่องค์สุดท้าย (เจ้าแก้วนวรัฐ) ได้ร่วมกับคุณบัวเรียว รัตนมณีกรณ์ได้ขัดเกลาท่ารำขึ้นใหม่
ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน จะใช้วงดนตรีพื้นเมืองซึ่งมีสะล้อ ซอ ซึง เพลงร้องมักไม่นิยมนำมาแสดง จะมีแต่เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบ แต่เดิมที่บิดาของคุณบัวเรียวใช้นั้นเป็นเพลงปราสาทไหว ส่วนคุณบัวเรียวจะใช้เพลงลาวสมเด็จ เมื่อมีการถ่ายทอดมา คณะครูนาฎศิลป์จึงได้เลือกสรรโดยใช้เพลง "ซอปั่นฝ้าย" ซึ่งมีท่วงทำนองเป็นเพลงซอทำนองหนึ่งที่นิยมกันในจังหวัดน่าน และมีลีลาที่สอดคล้องกับท่ารำ การแต่งกาย แต่งกายแบบพื้นเมือง คือนุ่งผ้าถุง ใส่เสื้อแขนกระบอกห่มสไบทับ เกล้าผมมวยประดับดอกไม้




ระบำซอ เป็นฟ้อนประดิษฐ์ของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายาของรัชกาลที่ 5 เป็นการผสมผสานการแสดงบัลเล่ต์ของทางตะวันตกกับการฟ้อนแบบพื้นเมือง ใช้การแต่งกายแบบหญิงชาวกะเหรี่ยง โดยมีความหมายว่า ชาวเขาก็มีความจงรักภักดี
ต่อพระมหากษัตริย์ไทย ใช้เพลงทางดนตรีไทย หลายเพลงประกอบการแสดง เช่น เพลงลาวจ้อย ต้อยตลิ่ง ลาวกระแต ลาวดวงดอกไม้ ลาวกระแซ มีคำร้องทำนองซอยิ้นที่แต่งเป็นคำสรรเสริญ ใช้แสดงในการสมโภชช้างเผือกของรัชกาลที่ 7ครั้งเมื่อเสด็จเลียบมณฑลพายัพ ปัจจุบันได้มีการลดจำนวนนักแสดงลงและตัดเพลงบางท่อนออกเพื่อให้เหมาะสมในการแสดงในโอกาสต่างๆ



ระบำชาวเขา  เป็นการแสดงของชาวเขาเผ่าลิซู หรือลีซอโดยเป็นระบำชุดที่ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่าง ๆ ชุดที่ใช้ได้รับการประยุกต์มาจากเครื่องแต่งกายที่ชาวเผ่าลิซูใช้ในชีวิตประจำวัน  เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงคือ ขลุ่ยไม้ไผ่ สะล้อ และพิณ






ฟ้อนขันดอก  เป็นฟ้อนประดิษฐ์ใหม่ มีลีลาท่าฟ้อนได้มาจากการใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองเชียงใหม่ ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ปัจจุบันฟ้อนชนิดนี้ใช้ฟ้อนในงานพิธีมงคล เพลงที่ใช้ในการประกอบการแสดงใช้เพลงกุหลาบเชียงใหม่ ลีลาท่าฟ้อนอ่อนช้อยเข้ากับความอ่อนหวานของท่วงทำนองเพลง



ฟ้อนแพน ฟ้อนแฟนหรือลาวแพนซึ่งเป็นชื่อเพลงดนตรีไทยในจำพวกเพลงเดี่ยว ซึ่งนักดนตรีใช้เป็นเพลงสำหรับเดี่ยวอวดฝีมือในทางดุริยางคศิลป์เช่นเดียวกับเพลงเดี่ยวอื่นๆ แต่เดี่ยวลาวแพนนี้มีเครื่องดนตรีเหมาะสมแก่ทำนองจริง ๆ อยู่เพียง 2 อย่างคือจะเข้และปี่ในเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีอื่นก็ทำได้น่าฟังเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีเสน่ห์เท่าจะเข้และปี่ใน เพลงนี้บางทีเรียกกันว่า "ลาวแคน"
การประดิษฐ์ท่ารำที่พบหลักฐานนำมาใช้ในละคร เรื่อง พระลอ พระราชนิพนธ์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตอนพระลอลงสรงในแม่น้ำกาหลง ท่ารำได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยเค้าท่าฟ้อนของภาคเหนือและภาคอีสานเป็นแบบอย่าง และดัดแปลงให้เหมาะสมกลมกลืนกับทำนองเพลง การฟ้อนลาวแพนในละครเรื่องพระลอเป็นการฟ้อนเดี่ยว ต่อมาจึงมีผู้นำเอาไปใช้ในการฟ้อนหมู่ โดยเอาท่าฟ้อนเดี่ยวมาดัดแปลงเพิ่มเติมแก้ไขให้เหมาะสมกับการรำหลาย ๆ คน ปัจจุบันการฟ้อนลาวแพนมีทั้งการแสดงที่เป็นหญิงล้วนและชายหญิง บางโอกาสยังเพิ่มเติมแต่งบทร้องประกอบการแสดงได้อีกด้วย

ภาคใต้

การแสดงนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค

ภาคใต้




โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้  มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า   มโนห์รา
            ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลายตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และจังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่ามัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง  ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย



ลิเกป่า  เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้  เดิมเรียกว่า  ลิเก  หรือ ยี่เก  เมื่อลิเกของภาคกลางได้รับการเผยแพร่สู่ภาคใต้จึงเติมคำว่า  ป่า  เพื่อแยกให้ชัดเจน  เมื่อประมาณ  ๓๐  ปีที่ผ่านมาลิเกป่าได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง  แถบพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะจังหวัดกระบี่  ตรัง พังงา  ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันออก     ที่เป็นแหล่งความเจริญก็มีลิเกป่าอยู่แพร่หลาย  เช่น อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อำเภอสะทิงพระ  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเมือง  จังหวัดสงขลา  ปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมลงจนถึงขนาดหาชมได้ยาก
        ลิเกป่า  มีชื่อเรียกต่างออกไป  คือ
          -  แขกแดง  เรียกตามขนบการแสดงตอนหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของลิเก คือ  การออกแขกแขกแดง”  ตามความเข้าใจของชาวภาคใต้หมายถึงแขกอินเดีย  หรือแขกอาหรับ  บางคนเรียกแขกแดงว่า เทศ”  และ    เรียกการออกแขกแดงว่า  ออกเทศ
          -  ลิเกรำมะนา  เรียกตามชื่อดนตรีหลักที่ใช้ประกอบการแสดงคือ  รำมะนา  ซึ่งชื่อนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากแสดงชนิดหนึ่งของมาลายูที่ใช้กลอง  ราบานา”  เป็นหลักอีกต่อหนึ่งก็ได้
          -  ลิเกบก  อาจเรียกชื่อตามกลุ่มชนผู้เริ่มวัฒนธรรมด้านนี้ขึ้น  โดยชนกลุ่มนี้อาจมีสภาพวัฒนธรรมที่ล้าหลังอยู่ก่อน  เพราะ บก”  หมายถึง  ล้าหลัง”  ได้ด้วยลิเกบก  จึงหมายถึงของคนที่ด้อยทางวัฒนธรรม  ชื่อนี้ใช้เรียกแถบจังหวัดสงขลา    



 มะโย่ง เป็นศิลปะการแสดงละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม   กล่าวกันว่า มะโย่งเริ่มแสดงในราชสำนักเมืองปัตตานี  เมื่อประมาณ  ๔๐๐  ปีมาแล้ว  จากนั้นได้แพร่หลายไปทางรัฐกลันตัน
วิธีการแสดง    การแสดงมะโย่งเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยหัวหน้าคณะมะโย่งทำพิธีไหว้ครู  คือไหว้บรรพบุรุษผู้ฝึกสอนวิธีการแสดงมะโย่ง    เครื่องบูชาครูก็มีกำนัลด้วยเงิน ๑๒ บาท เทียน ๖ แท่ง
การไหว้ครูนั้นถ้าเล่นธรรมดา   อาจไม่ต้องมีการไหว้ครูก็ได้     แต่ถ้าเล่นในงานพิธี  หรือเล่นในงานทำบุญต่ออายุผู้ป่วยก็ต้องมีพิธีไหว้ครู   จะตัดออกไม่ได้
        โอกาสที่แสดง  ตามปกติมะโย่งแสดงได้ทุกฤดูกาล   ยกเว้นในเดือนที่ถือศีลอด  (ปอซอ)  ของชาวไทยมุสลิม   การแสดงมักแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น  งานฮารีรายอ





รองเง็ง การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ  เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่งเป็นเรื่องและมีการพักครั้งละ ๑๐ ๑๕ นาที  ระหว่างที่พักนั้นสลับฉากด้วยรองเง็ง  เมื่อดนตรีขึ้นเพลงรองเง็ง  ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง   เพื่อให้เกิดความสนุกสนานยิ่งขึ้น   มีการเชิญผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย   ภายหลังมีการจัดตั้งคณะรองเง็งแยกต่างหากจากมะโย่ง  ผู้ที่ริเริ่มฝึกรองเง็ง  คือ ขุนจารุวิเศษศึกษากร ถือว่าเป็นบรมครูทางรองเง็ง  เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง  แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง  ๗  เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง     การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ   ลำตัว  และลีลาการร่ายรำ   ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง  และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน
การแต่งกาย   ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง   สวมหมวกไม่มีปีก    หรือใช้หมวกแขกสีดำ  นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน   สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า  ซอแกะ
เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง  มีเพียง  ๓  อย่าง คือ
๑.    รำมะนา          ๒.  ฆ้อง  ๓.   ไวโอลิน

โอกาสที่แสดง    เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่างๆ   ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง  เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ  ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ  เช่น  งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน

คำนำ

คำนำ

รายงานเล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ผู้จัดทำได้พยายามค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ การแสดงนาฏศิลป์ 4 ภาค ไว้อย่างครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ผู้สนใจอ่านทราบถึงความสำคัญและรายละเอียดของแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งรายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  รหัสวิชา ง 30204  เป็นการฝึกทักษะการค้นคว้าหาข้อมูลได้เป็นอย่างดี

หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วย


ผู้จัดทำ

นางสาวนัฐภรพรรณ มีแก้ว

การแสดงนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค

รายงาน

วิชา การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ( ง 33201)
เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค


จัดทำโดย

นางสาวนัฐภรพรรณ มีแก้ว
เลขที่  28    ม. 6/2

เสนอ

อาจารย์ ศุภสัณห์  แก้วสำราญ

ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา 2556

โรงเรียนเมืองกระบี่